บทที่1 คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์โทรคมนาคม


บทที่1 คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์โทรคมนาคม

คอมพิวเตอร์ (Computer) หมายถึงอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่ทำงานด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ สามารถเก็บและจำข้อมูลรวมถึงชุดคำสั่งในการทำงานได้ทำให้สามารถทำงานได้โดยอัตโนมัติ ด้วยอัตราความเร็วที่สูงมาก ใช้เพื่อประโยชน์ในการคำนวณหรือทำงานต่าง ๆ ได้เกือบทุกชนิดทุกประเภทและแสดงผลลัพธ์ออกมาในรูปแบบต่าง ๆได้อย่างรวดเร็วถูกต้อง คอมพิวเตอร์มาจากรากศัพท์ภาษาลาตินว่า Computare  
   
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2540) ได้บัญญัติไว้ว่า Computer : คอมพิวเตอร์,คณิตกรณ์ หมายถึง เครื่องคำนวณหรือผู้คำนวณ มีหน้าที่คำนวณและเปรียบเทียบ (ประมวลผลข้อมูล) ตามคำสั่งที่มนุษย์จัดเตรียมไว้ในรูปแบบของโปรแกรมหรือชุดคำสั่งต่าง ๆ






ประเภทของคอมพิวเตอร์
1. ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ (Supercomputer) เป็นคอมพิเตอร์ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานสูง มีขนาดของความจำมาก ตั้งอยู่ในห้องที่สามารถปรับอุณหภูมิได้ การใช้งานคอมพิวเตอร์ประเภทนี้มักในงานวิจัย เช่น การวิเคราะห์ภาพถ่ายดาวเทียม การพยากรณ์อากาศ และงานอื่นๆที่มีการคำนวณซับซ้อน






2. เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่มีประสิทธิภาพรองลงมาจากซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ท่สามารถเชื่อมโยงกับคอมพิวเตอร์ปลายทางได้จำนวนมาก ทำให้ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้พร้อมกันหลายร้อยคน จึงมักใช้ในองคืกรขนาดใหญ่


3. มินิคอมพิวเตอร์ (Minicomputer) เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดกลางที่มีประสิทธิภาพน้อยกว่าเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ แต่สูงกว่าไมโครคอมพิวเตอร์ มักพบในองค์กรที่ใช้งานเฉพาะด้าน เช่น ประมวลผลงานบัยชี โดยนำไปเชื่อมต่อกับเครื่องปลายทางได้หลายคน โดยมีการประมวลผลที่อยู่ส่วนกลาง แล้วส่งผลไปที่เครื่องปลายทาง โดยที่เครื่องปลายทางไม่ต้องประมวลผลเอง


4. ไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานอย่างแพร่หลาย ทีทั้งคอมพิวตอร์ส่วนบุคคลแบบตั้งโต๊ะ ซึ่งเหมาะกับการทำงานในสำนักงาน สถานศึกษา ที่บ้าน หรือคอมพิวเตอร์แบบพกพาไปในสถานที่ต่างๆได้ เช่น โน๊ตบุ๊ก เป็นต้น




โทรคมนาคม (Telecommunications) หมายถึง การสื่อสารข้อมูลระยะทางไกลในรูปแบบสัญญาณอีเล็กทรอนิกส์ ซึ่งในอดีตโทรคมนาคมให้บริการในรูปแบบของสัญญาณเสียงผ่านสายโทรศัพท์ที่เรียกกันว่าสัญญาณในระบบ อนาลอก (Analog Signal) แต่ในปัจจุบันสัญญาณโทรคมนาคมกำลังจะกลายเป็นการถ่ายทอดสัญญาณในรูปแบบ ดิจิตอล (Digital Signal) ทั้งหมด
           ระบบโทรคมนาคมเป็นระบบใหญ่ที่มักผูกขาดโดยองค์กรของรัฐในเกือบทุกประเทศทั่วโลก ดังเช่น ในประเทศไทย ได้แก่ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ซึ่งได้แปรรูปกิจการมาเป็นบริษัทศท.คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) แล้ว เพื่อให้เกิดการแข่งขันที่เสรีกับองค์กรผู้ให้บริการโทรคมนาคมเอกชนอื่นๆ ที่เติบโตขึ้นมาโดยลำดับ เพื่อการขยายตัวที่ดีขึ้นในภูมิภาค และเป็นกิจการสาธารณะที่สามารถเปิดให้บริการได้อย่างเสรีรวมไปถึงการเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เนตกับประเทศอื่นๆในภูมิภาคด้วย จะนำมาซึ่งการให้บริการที่หลากหลายในด้านการสื่อสารข้อมูล โดยเฉพาะการสร้าง ถนนสายด่วนข่าวสาร (Information Super-Highway) เช่น การโทรคมนาคมผ่านเครือข่ายสื่อสารระบบดิจิตอลความเร็วสูง ที่สามารถให้บริการทางการศึกษา ค้นคว้าวิจัย สันทนาการ และการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจในระดับชาติ ระดับภูมิภาค ตลอดจนระดับโลก และจะเป็นส่วนหนึ่งของการดำรงชีวิตในทศวรรษหน้า


โทรคมนาคม (Telecommunications) หมายถึง คือระบบที่ประกอบด้วยฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์จำนวนหนึ่งที่สามารถทำงานร่วมกันและถูกจัดไว้สำหรับการสื่อสารข้อมูลจากสถานที่แห่งหนึ่งไปยังสถานที่อีกแห่งหนึ่ง ซึ่งสามารถถ่ายทอดข้อความ ภาพกราฟฟิก เสียงสนทนา และวิดีทัศน์ได้ มีรายละเอียดของโครงสร้างส่วนประกอบดังนี้
1. เครื่องคอมพิวเตอร์หรือเครื่องมือเปลี่ยนปริมาณใดให้เป็นไฟฟ้า (Transducer) เช่น โทรศัพท์ หรือไมโครโฟน
2. เครื่องเทอร์มินอลสำหรับการรับข้อมูลหรือแสดงผลข้อมูล เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์
3. อุปกรณ์ประมวลผลการสื่อสาร (Transmitter) ทำหน้าที่แปรรูปสัญญาณไฟฟ้าให้เหมาะสมกับช่องสัญญาณ เช่น โมเด็ม (MODEM) มัลติเพล็กเซอร์ (multiplexer) แอมพลิไฟเออร์ (Amplifier) ดำเนินการได้ทั้งรับและส่งข้อมูล
4. ช่องทางสื่อสาร (Transmission Channel) หมายถึงการเชื่อมต่อรูปแบบใดๆ เช่น สายโทรศัพท์ ใยแก้วนำแสง สายโคแอกเซียล หรือแม้แต่การสื่อสารแบบไร้สาย
5. ซอฟท์แวร์การสื่อสารซึ่งทำหน้าที่ควบคุมกิจกรรมการรับส่งข้อมูลและอำนวยความสะดวกในการสื่อสาร


หน้าที่ของระบบโทรคมนาคม

ทำหน้าที่ในการส่งและรับข้อมูลระหว่างจุดสองจุด ได้แก่ ผู้ส่งข่าวสาร (Sender) และ ผู้รับข่าวสาร (Receiver) จะดำเนินการจัดการลำเลียงข้อมูลผ่านเส้นทางที่มีประสิทธิภาพที่สุด จัดการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่จะส่งและรับเข้ามา สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบข้อมูลให้ทั้งสองฝ่ายสามารถเข้าใจได้ตรงกัน ซึ่งที่กล่าวมานี้ส่วนใหญ่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นตัวจัดการ ในระบบโทรคมนาคมส่วนใหญ่ใช้อุปกรณ์ในการรับส่งข้อมูลข่าวสารต่างชนิด ต่างยี่ห้อกัน แต่สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้เพราะใช้ชุดคำสั่งมาตรฐานชุดเดียวกัน กฎเกณฑ์มาตรฐานในการสื่อสารนี้เราเรียกว่า “โปรโตคอล (Protocol)” อุปกรณ์แต่ละชนิดในเครือข่ายเดียวกันต้องใช้โปรโตคอลอย่างเดียวกัน จึงจะสามารถสื่อสารถึงกันและกันได้ หน้าที่พื้นฐานของโปรโตคอล คือ การทำความรู้จักกับอุปกรณ์ตัวอื่นที่อยู่ในเส้นทางการถ่ายทอดข้อมูล การตกลงเงื่อนไขในการรับส่งข้อมูล การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล การแก้ไขปัญหาข้อมูลที่เกิดการผิดพลาดในขณะที่ส่งออกไปและการแก้ปัญหาการสื่อสารขัดข้องที่อาจเกิดขึ้นโปรโตคอลที่รู้จักกันมาก ได้แก่ โปรโตคอลในระบบเครือข่ายอินเตอร์เนต เช่น Internet Protocal ; TCP/IP , IP Address ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้








ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บทที่ 4 การประยุกต์ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปด้านเอกสารด้วยโปรแกรมMicrosoft Word

บทที่ 9 การประยุกต์ใช้โปรแกรมจัดการฐานข้อมูลด้วย Microsoft Access

บทที่ 6 การประยุกต์ใช้โปรแกรมคำนวนทางธุระกิจ Microsoft Excel